การจัดการหน่วยคอมพิวเตอร์

การจัดการไฟล์ (File Management)
ความหมายของไฟล์ (Files) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจจะเก็บอยู่ในสื่อเก็บบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น HDD CD-ROM FLOPPYDISK อ้างอิงชื่อ และส่วนขยายตามกติกาต่อไปนี้- ชื่อไฟล์ (file name) ตั้งได้มากสุด 256 อักขระ
– ส่วนขยาย (extensions) เป็นส่วนที่ช่วยให้ระบบปฏิบัติการเข้าใจรูปแบบหรือชนิดของไฟล์ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ประกอบด้วยอักขระ 3-4 ตัว เขียนต่อจากชื่อไฟล์คั่นด้วยเครื่องหมาย “.” เทียบได้กับนามสกุลของไฟล์ บางระบบซ่อนไว้ ต้องตั้งค่าเพิ่ม
– ลำดับโครงสร้างไฟล์ (Hierarchical File System) ปกติระบบปฏิบัติการจะจัดเก็บข้อมูลที่มีโครงสร้างแบบลำดับชั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วนย่อยคือ Directory เป็นโฟลเดอร์หลักบางครั้งเรียกว่า root directory ส่วน Sub-Directory เป็นโฟลเดอร์ย่อยลงไปอีก


ผังแสดงการเก็บโฟลเดอร์
ที่มา : http://learners.in.th/file/handyman/view/116379

การจัดการหน่วยความจำ (Memory Management)
ถ้าหน่วยความจำไม่พอ ในกรณีที่มีข้อมูลปริมาณมาก หรือทำงานหลายๆโปรแกรมพร้อมกัน จะแก้ปัญหาโดยวิธีการที่เรียกว่า หน่วยความจำเสมือน (VM-Virtual memory) โดยใช้เนื้อที่ของหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เช่น HDD การเก็บข้อมูลที่ทำงานอยู่ในขณะนั้นเอาไว้เป็นไฟล์ในฮาร์ดดิสก์เรียกกว่า Swap file และแบ่งหน้าเหล่านั้นเป็น page จากนั้น OS จะเลือกเฉพาะข้อมูลในเพจที่กำลังจะใช้นั้นเข้าสู่หน่วยความจำ RAM

การจัดการอุปกรณ์นำเข้าและแสดงผลข้อมูล (I/O Device Management)
อัตราการส่งข้อมูลของอุปกรณ์ช้ากว่า CPU ดังนั้น OS จึงต้องเตรียมพื้นที่ส่วนหนึ่ง Buffer เพื่อเป็นที่พักรอของข้อมูลที่อ่านเข้ามาหรือเตรียมส่งออกไปยังอุปกรณ์แสดงผลต่างๆ กรณีของเครื่องพิมพ์ ข้อมูลที่ส่งไปพิมพ์มีขนาดใหญ่มาก หรือในกรณีที่สั่งพิมพ์หลายๆงานพร้อมๆกัน ดังนั้นต้องทำตามลำดับงาน จะสลับหรือผสมกันไม่ได้ ดังนั้นต้องเก็บไว้ใน HDD ก่อนเพราะเร็วกว่าการเขียนข้อมูลไปที่เครื่องพิมพ์ เรียกระบบนี้ว่า spooling ทำให้สามารถยกเลิกงานที่ต้องการในคิวได้อีกด้วย OS จะเรียกใช้ดีไวซ์ไดรเวอร์ (device driver) เพื่อควบคุมอุปกรณ์ชนิดนั้นๆและให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารรวมถึงสั่งงานบางอย่างได้ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากอุปกรณ์ต่างรูปแบบต่างยี่ห้อก็มีวิธีการสั่งงานต่างกัน เป็นการยากที่จะเก็บวิธีการติดต่ออุปกรณ์เหล่านั้นไว้ทั้งหมดผู้ผลิต OS จึงต้องให้ผู้ผลิตอุปกรณ์ต้องให้ไดร์เวอร์ด้วย เพื่อให้ผู้ใช้นำมาติดตั้ง OS ใหม่ๆมีระบบ plug & play ทำให้เชื่อมต่ออุปกรณ์แล้วใช้งานได้เลย โดย OS จะติดตั้งไดร์เวอร์ให้อัตโนมัติ

การจัดการกับหน่วยประมวลผลกลาง (CPU Management)
ในระบบที่มี Multi-tasking ตัว OS จะทำการแบ่งเวลาให้กับงานแต่ละงาน เร็วมากจนเหมือนว่าทำได้หลายๆงานพร้อมกัน ในระบบที่มี Multi-user ก็เช่นเดียวกัน OS จะทำการแบ่งเวลาให้แต่ละคน ดูเหมือนว่าทำงานได้หลายๆคนพร้อมกัน Multi-processing ทำงานได้หลายๆคำสั่งในเวลาเดียวกัน ข้อดีคือ ถ้า ซีพียูตัวใดตัวหนึ่งเสียก็สามารถยังทำงานได้อยู่ แต่ต้องก็ยอมรับว่าจะมีเวลาบางส่วนหายไปเพราะต้องใช้ในการประสานงาน และมีงานบางงานที่ไม่สามารถทำพร้อมๆกันได้

 

ที่มา  http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2

ใส่ความเห็น

ใส่ความเห็น